muaytoday LINE : @mtdfc
muaytoday
วันที่ 5 พฤษภาคม 2024 12:00 AM
muaytoday
muaytoday
หน้าหลัก » ข่าวมวย » เรียวเมอิ ทานากะ ทำเสียชื่อโอลิมปิก ควรปฏิวัติเบื้องหลังเน่าวงการมวย

เรียวเมอิ ทานากะ ทำเสียชื่อโอลิมปิก ควรปฏิวัติเบื้องหลังเน่าวงการมวย

อัพเดทวันที่ 5 สิงหาคม 2021 เข้าดู 118 ครั้ง

เรียวเมอิ ทานากะ ทำเสียชื่อ กีฬาโอลิมปิก เรียกได้ว่าปัจจุบันนี้กำลังสร้างชื่อเสีย มากกว่าสร้างชื่อเสียงโดยเฉพาะ วงการมวยสากลสมัครเล่น ต้องมีความเปลี่ยนเเปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้น กำลังเป็นประเด็นร้อนประเด็นดังเลยในตอนนี้ ในทั่วโลกสำหรับ ประเด็นวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกีฬามวยสากล ค้านสายตาคนทั่วโลก ในรุ่นฟลายเวท 52 กิโลกรัมชาย

คู่ระหว่าง ริวาส มาร์ติเนซ จากโคลอมเบีย พบกับ เรียวเม ทานากะ จากญี่ปุ่นเจ้าภาพ ในรอบ 8 คนสุดท้าย ซึ่งใครชนะจะการันตีเหรียญทองแดงในทันที แต่กับเกิดเรื่องดราม่าสำหรับ นักมวย “โคลอมเบีย” ต่อยนักกีฬาเจ้าภาพ ต้องนั่งรถเข็นออกจากสนามหลังจบเกม แต่แพ้คะแนน 1-4 เสียง

เรียวเมอิ ทานากะ

 

โดยเส้นทางของ นักชกจากโคลอมเบีย ก่อนจะมาเจอนักชกชาวญี่ปุ่นนั้น เอาชนะ อามิท มือ 1 ของรายการจากอินเดีย มาในรอบ 16 คนสุดท้าย ก่อนลงแข่งพบกับ นักชกเจ้าภาพที่ชนะนักชกจากจีนเข้ามา คะแนนในยกแรก ปรากฏว่านักชกโคลอมเบีย ทำคะแนนนำไปก่อน 4-1 เสียง แต่ยกที่สอง นักชกจากญี่ปุ่น ตีตื้นขึ้นมาก่อนชนะไป 3-2 เสียง และในยกที่สาม กรรมการกลับให้ทางทานากะ ชนะทั้ง 5 คน ส่งผลให้ ทานากะ

พลิกชนะนักชกจากโคลอมเบีย ไปด้วยคะแนน 4-1 เสียง เข้ารอบรองชนะเลิศ  กับความงุนงงของนักชกตรงข้ามที่คิดว่าตนเป็นผู้ชนะ เนื่องจากบนเวที มีจังหวะที่ต่อยเข้าเป้าอยู่หลายครั้ง หลังการชก ทานากะ ไม่สามารถลุกเดินได้ เนื่องจากยังมึนหมัดบนสังเวียนของนักชกโคลอมเบีย จนต้องใช้รถเข็นในการนำตัวเขาออกจากสนาม

 

โดยหลังการพ่ายแพ้ในครั้งนี้นั้นทางด้าน ริวาซ มาร์ติเนซ วัย 29 ปี ได้เปิดใจผ่านสื่อถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นและมึนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าแพ้ได้ยังไงว่า “ผมคิดว่าผมชนะแน่ๆ ผมทำคะแนนได้ดี และต่อยเข้าเป้าตลอด ผมไม่รู้ว่ากรรมการไม่เห็นหรืออย่างไร ในยกสุดท้าย แม้ผมจะเหนื่อย แต่ผมว่า ผมยังต่อยดีกว่าเขา และควรเป็นผู้ชนะทั้ง 3 ยก ผมเตรียมตัวมาหลายปีสำหรับการแข่งขัน เพื่อพบว่า ผมไม่ชนะใจกรรมการบนเวที ผมเสียใจมาก” ทานากะ จะเข้าไปพบกับ คาร์โล พาลัม นักชกจากฟิลิปปินส์ ในรอบรองชนะเลิศ ต่อไป

 

อย่างไรก็ตามนี่อาจจะเป็นปัญหาสำคัญใน การแข่งขันและการตัดสินใจในโอลิมปิก 2020 โดยครั้งนี้นั้นไม่เหมือนครั้งก่อนก่อนที่ผ่านมา เพราะก่อนหน้านี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามีความเปลี่ยนแเปลงเกิดขึ้น เพราะคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ตัดสินใจลงมาเป็นผู้จัดการแข่งขัน แทนที่ของ สมาพันธ์มวยสากลนานาชาติ หรือ ไอบ้า  เนื่องจากปัญหาด้านความโปร่งใสของการบริหารองค์กร และการติดสิน ประเด็นนี้ ชาวโลกยังคงจับตามองว่า การจัดการแข่งขันครั้งนี้ของโอลิมปิก จะทำให้ปัญหาความยุติธรรมถูกขจัดหายไปได้จริงหรือไม่ เพราะอะไรองค์กรอย่างไอบ้า จึงค่อย ๆ หมดความชอบธรรม และทำไมโอลิมปิกจึงต้องเข้ามามีบทบาทในครั้งนี้

เรียวเมอิ ทานากะ

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าชนิดกีฬา มวยสากล เป็นหนึ่งกีฬายอดฮิตที่ทั่วโลกให้การยอมรับ และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นมันก็อยู่คู่กับโอลิมปิก มานานนับหลายปีหากนับก็ต้องแต่ปี 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะหลุดจากการแข่งขันโอลิมปิก 1912 ที่สตอคโฮล์ม ทว่าตั้งแต่ปี 1920 มวยสากล

คือชนิดกีฬาที่ได้รับการบรรจุในโอลิมปิกมาตลอด จนถึงโอลิมปิก 2020 “โตเกียวเกมส์” และสิ่งสำคัญที่สุดที่คนไทยนั้นให้ความสนใจนั่นก็คือเพราะเป็น กีฬาชนิดเดียวก็เป็นได้ที่สามารถ คว้าเหรียญรางวัลมาครองหากย้อนกลับไปคนแรกที่ทำได้นั่นก็คือ พเยาว์ พูนธรัตน์ ในโอลิมปิก 1976 ที่มอนทรีออล

 

จากนั้นมวยสากล เรียกได้ว่าหลังจากนั้นก็เป็นเส้นทางแห่งความสำเร็จสามารถทำให้คนไทยนั้นคว้าเหรียญทองมาได้มากมายต่อจากตอนนั้น อย่างไรก็ตามเรียกได้ว่ายังคงเป็นอุปสรรคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสำหรับ มวยสากล จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมนั่นก็คือการตัดสินแบบค้านสายตาคนทั่วโลก การตัดสินที่ไม่เป็นธรรมมาหลายทศวรรษ เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่า มวยสากล คือกีฬาที่ตัดสินจากสายตา ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของการแข่งขันมวยโอลิมปิก ถูกลดทอนลงไปทุกปีๆ

และความไม่ยุติธรรมนี่เองอาจจะเป็นปัญหาที่ยังคงฝังแน่นอยู่ในการตัดสินใจเรื่อยมา หากย้อนกลับไปผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงนั้นก็คือ สหพันธ์มวยสากลนานาชาติ หรือ ไอบ้า โดยผู้ก่อตั้งตั้งแต่สมัยโอลิมปิก 1920 ที่เบลเยี่ยม

ตัวแทนจาก 5 ชาติ คือ อังกฤษ, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, บราซิล และเนเธอร์แลนด์ โดย 5 ประเทศนี้ได้ร่วมกันก่อตั้งและให้ชื่อว่า FIBA หัวใจหลักนั่นก็คือ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติ และเปิดโอกาสให้นักมวยสมัครเล่น มีโอกาสสร้างผลงานระดับนานาชาติ

เรียวเมอิ ทานากะ

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าตอนแรกนั้นเหมือนทุกอย่างนั้นเป็นไปด้วยความโปร่งใส และแล้วก็มีจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญนั่นก็คือ สงครามโลกครั้งที่ 2 นี่แหละคือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญอย่างแท้จริงเพราะผู้บริหารสมาพันธ์บางส่วน ไปมีบทบาททางการเมือง จนทำให้สูญเสียความน่าเชื่อถือในการจัดการแข่งขัน และสิ่งที่ตามมานั่นก็คือความคิดที่หลากหลายมากขึ้นการแสดงออกที่เป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน หลังจากนั้นก็ทำให้ FIBA จึงถูกยุบลงในปี 1948 และจากนั้นสมาคมมวยสากลสมัครเล่นของอังกฤษและฝรั่งเศส ตัดสินใจก่อตั้งสมาพันธ์ใหม่ขึ้นมา คือ AIBA และได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินงานในโอลิมปิก

ตามทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเหมือนก็ผ่านไปด้วยดี และไม่มีปัญหาการตัดสินที่ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง แล้วไม่ถูกจับตามองจากทั่วโลกได้อย่างไร แต่กลับมีประเด็นขึ้นมาและเป็นสิ่งที่ค้างสายตามากที่สุดดูเหมือนจะนับตั้งแต่ 1960 โดยครั้งนั้นสร้างตราบาปขึ้นครั้งแรก มีผู้ตัดสินถูกปลดจากการทำหน้าที่หลายคน เนื่องจากทำหน้าที่ค้านสายตา ในขณะที่โอลิมปิก 1964 โช ดองกี นักมวยเกาหลีใต้ ถูกผู้ตัดสินปรับแพ้สตานิสลาฟ โซโรคิน จากสหภาพโซเวียต เนื่องจากต่อยแบบก้มต่ำเกินไปหลังเวลาผ่านไปเพียง 1 นาที กับ 6 วินาทีในยกแรก ทำให้เขาตัดสินใจประท้วงไม่ลงจากเวทีนานถึง 51 นาทีด้วยกัน

 

จากนั้นก็กลายเป็นเรื่องราวที่หลายคนนั้นทราบกันดีว่าการตัดสินกันครั้งนั้นก็ค้างสายตาจนไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเมื่อไหร่มันจะเกิดความโปร่งใสอย่างแท้จริง ไม่มีใครตอบได้ โอลิมปิกครั้งนี้จะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่ เพราะคงต้องให้ผลตอบรับจากแฟนมวย, นักกีฬาและสตาฟฟ์โค้ช เป็นผู้ที่ตัดสินผลงานของพวกเขา สุดท้ายจะซ้ำรอยยุคมืดของไอบ้าหรือไม่นั้น เชื่อว่านักกีฬาทุกคนคงไม่มีใครอยากเอาฝันมาทิ้งบนสังเวียนผ้าใบโอลิมปิก เพียงเพราะการตัดสินที่ไม่ยุติธรรม จากกรรมการเพียง 5 คนอย่างแน่นอน

 

ติดตามข่าวสารทุกวงการมวยได้ที่ muaytoday.com

แทงมวยออนไลน์ ราคาน้ำที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ข่าวมวย ล่าสุด